วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ความน่าจะเป็น

ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์
ในชีวิตประจำวันเราอยู่กับเหตุการณ์ต่าง ๆ และมีคำถามอยู่ในใจตลอดเวลา เช่น
- พรุ่งนี้ฝนจะตกหรือไม่
-
บางทีเราต้องไปทำงานวันนี้
-
นายกอาจลาออกและยุปสภาเร็ว ๆ นี้
-
ทีมฟุตบอลทีมใดจะได้เป็นแชมป์โลก
 -
ใครชนะเลือกตั้งในสมัยหน้า


คำว่า "ความน่าจะเป็น" หรือ "probability" เป็นวิธีการวัดความไม่แน่นอนในรูปแบบคณิตศาสตร์ เช่น เมื่อโยนเหรียญ ความน่าจะเป็นของเหรียญที่จะออกหัวหรือก้อยเท่ากับ 0.5
ดังนั้นเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในอาณาคตเป็นสิ่งที่ยากจะคาดเดาได้ถูกต้องร้อยเปอร์เซนต์ นักอุตุนิยมวิทยาจึงใช้หลักการของความน่าจะเป็นเข้ามาทำนาย เช่น ความน่าจะเป็นของการเกิดฝนตกใน กรุงเทพมหานคร ในวันพรุ่งนี้มีค่าเท่ากับ 0.7
ความน่าจะเป็น เป็นค่าที่อาจมีความหมายที่หลายคนเข้าใจได้ไม่ยาก ความน่าจะเป็น เป็นศาสตร์ที่มีความละเอียดอ่อนที่จะนำไปประยุกต์ใช้ โดยเฉพาะเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันต่าง ๆ ความน่าจะเป็นมีการกำหนดค่าเป็นเศษส่วนหรือเป็นเปอร์เซนต์หรือให้มีค่าระหว่าง 0 ถึง 1 เช่น ถ้านำลูกเต๋า ทอยลงบนพื้น โอกาสที่จะปรากฎหน้า 1 มีค่าเท่ากับ 1/6 หรือ 16.6 เปอร์เซนต์ ถ้าโยนเหรียญหนึ่งเหรียญ และให้ตกบนพื้น (โยนแบบยุติธรรม) โอกาสที่จะปรากฏหัวเท่ากับ 1/2 หรือ 0.5 

ในทางคณิตศาสตร์ เราหา "ค่าของความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ซึ่ง ไม่ทราบแน่ว่าจะเกิดหรือไม่" ได้โดยพิจารณา "น้ำหนัก" ที่เหตุการณ์นั้นๆ จะเกิด ถ้ากำหนดให้น้ำหนักของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้มีค่าเป็น 0 น้ำหนัก ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแน่มีค่าเป็น 1
และน้ำหนักของเหตุการณ์ใด ๆ ที่อาจ เกิดขึ้นมีค่าเป็นจำนวนเลขที่อยู่ระหว่าง 0 กับ 1 เราจะมีตัวเลขมากมายนับ ไม่ถ้วน แสดงค่าของน้ำหนัก หรือโอกาสที่เหตุการณ์ต่าง ๆ จะเกิดขึ้นได้ และเรียกค่าของน้ำหนักนี้ว่า "ค่าของความน่าจะเป็น"
พิจารณาการโยนเหรียญบาทหนึ่งเหรียญ ถ้าเหรียญนั้นไม่ได้มีการถ่วง ให้หน้าใดง่ายง่ายกว่าหน้าอื่นก็เชื่อว่า "น้ำหนัก" ของการที่เหรียญจะ หงายหน้าใดหน้าหนึ่งย่อมเท่ากัน
ผลที่เป็นไปได้ทั้งหมดมี 2 อย่าง คือเหรียญหงายหัวหรือเหรียญ หงายก้อยซึ่งอาจเกิดอย่างใดอย่างหนึ่งได้เท่า ๆ กัน
โอกาสที่เหรียญจะหงายหัว=โอกาสที่เหรียญจะหงายก้อย
โอกาสที่เหรียญจะหงายหัว = 1/2
โอกาสที่เหรียญจะหงายก้อย = 1/2
เรากล่าวว่า ความน่าจะเป็นที่เหรียญหงายหัวมีค่า 1/2
และความน่าจะเป็นที่เหรียญหงายก้อยมีค่า 1/2
ในการทอดลูกเต๋าลูกหนึ่ง เมื่อลูกเต๋านั้น ๆ มีหน้าใหญ่เท่า ๆกัน และไม่มีการถ่วงให้หน้าใดหงายง่ายกว่าหน้าอื่น ก็เชื่อได้ว่า "น้ำหนัก" ของการที่ลูกเต๋าจะหงายหน้าใดหน้าหนึ่งย่อมเท่ากัน
ผลที่ลูกเต๋าจะขึ้นหน้าต่าง ๆ ทั้งหมดมี 6 อย่าง คือ อาจขึ้นหน้า หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า หรือหก ด้วยความน่าจะเป็นเท่า ๆ กัน คือ 1/6
พิจารณาการโยนเหรียญบาทหนึ่งเหรียญ และเหรียญห้าบาทหนึ่งเหรียญ พร้อม ๆ กัน เหรียญย่อมหงายได้ 4 อย่าง
ความน่าจะเป็นที่เหรียญใดจะหงายหัวหรือก้อยมีเท่า ๆ กัน คือ 1/2 สำหรับ แต่ละเหรียญ เราใช้ทฤษฎีของความน่าจะเป็นคำนวณค่าของความน่าจะเป็น ได้ดังนี้
ความน่าจะเป็นที่เหรียญทั้งสองจะหงายหัว = 1/4
ความน่าจะเป็นที่เหรียญทั้งสองจะหงายก้อย = 1/4
ความน่าจะเป็นที่เหรียญหนึ่งหงายหัวกับอีก
เหรียญหนึ่งหงายก้อย = 1/2
ตามความจริงแล้วการเกิดอย่างรูป ก หรือรูป ง อย่างใดอย่าง หนึ่ง ยากกว่าการเกิดตามรูป ข หรือรูป ค ฉะนั้นค่าน้ำหนักของการเกิด ในรูป ก จึงน้อยกว่าค่าน้ำหนักของการเกิดในรูป ข รวมกับค่าน้ำหนักของ การเกิดในรูป ค เช่นเดียวกัน ค่าน้ำหนักของการเกิดในรูป ง ก็น้อยกว่าค่า น้ำหนักของการเกิดในรูป ข รวมกับค่าน้ำหนักของการเกิดในรูป ค
นอกจากเรื่องโยนลูกเต๋า โยนเหรียญ จับสลาก แจกไพ่แล้ว ยัง มีเรื่องอื่น ๆ อีกมาก ที่มีผลการเกิดซึ่งบอกล่วงหน้าไม่ได้ว่าจะให้ผลอย่าง ไร ทางคณิตศาสตร์จึงต้องใช้สัญลักษณ์มาช่วยจำลองเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่อาจ เกิดขึ้นเฉพาะเรื่อง
และอาศัยกฎเกณฑ์ของคณิตศาสตร์ในแขนงอื่น ๆ ทำให้ เกิดทฤษฎีต่าง ๆ ที่สามารถนำไปหาค่าความน่าจะเป็นของเรื่องที่เกี่ยวข้อง กับความไม่แน่นอนทั้งหลายได้ และสามารถใช้ค่าเหล่านี้คำนวณหาค่าอื่น ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ในการนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจ
เช่น ใช้ค่าของความน่าจะเป็นที่จะมีลูกค้าเข้ามาซื้อของในร้าน เพื่อหาว่าโดยเฉลี่ยจะ มีลูกค้าเข้ามาซื้อของกี่คน
นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส เป็นผู้ให้กำเนิดเรื่องของความน่าจะเป็น เมื่อประมาณ 300 ปีมาแล้ว
แต่เพิ่งจะได้มีการศึกษาโดยละเอียดและนำไปใช้เมื่อประมาณ 40 ปีมานี้เอง ปัจจุบัน เรื่องราวของความน่าจะเป็น มีความสำคัญอย่างมาก การค้นคว้า การวิจัย และการปฏิบัติงานใด ๆ ที่ เกี่ยวข้องกับการคาดคะเน จะต้องอาศัยเรื่องของความน่าจะเป็นทั้งสิ้น
เช่น การเกษตร การแพทย์ เศรษฐศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโน โลยีทุกสาขา ความน่าจะเป็นบางเรื่องใช้คณิตศาสตร์ชั้นสูงหลายวิชามาเกี่ยว โยงกัน และยังมีเรื่องต้องศึกษาค้นคว้าอีกมาก

วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

แผนการสอนวิชาคณิตศาสตร์





แผนการสอนรายวิชาคณิตศาสตร์    ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
********************
สัปดาห์ที่......1......แผนจัดการเรียนรู้ที่.....1............กลุ่มสาระการเรียนรู้.... คณิตศาสตร์……..    หน่วยที่......1............
เรื่อง ......จำนวนนับ.. ...ชั้น. ....... ป.5.........ภาคเรียนที่ ...........1.........  .ปีการศึกษา 2553......      เวลา......1......ช.ม. / สป.
วันที่..........18.........เดือน.......พฤษภาคม........พ.ศ....2554...........                            ครูผู้สอน นางสาวสุดารัตน์   หาญกล้า
  
1.  มาตรฐานการเรียนรู้   
มาตรฐาน ค 1.1  เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
2. ตัวชี้วัด
มฐ. ค 1.1 ป.5/2 เปรียบเทียบและเรียงลำดับเศษส่วนและทศนิยมไม่เกินสองตำแหน่ง      
มฐ. ค 6.1 ป.5/1 ใช้วิธีที่หลากหลายแก้ปัญหา
มฐ. ค 6.1 ป.5/2  ใช้ความรู้ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์และเทคโนโลยีในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆได้อย่างเหมาะสม
3. จุดประสงค์การเรียนรู้สู่ตัวชี้วัด
1.บอกวิธีการอ่าน และเขียนตัวเลขไทย ตัวเลขฮินดูอารบิก และตัวหนังสือแทนจำนวนนับที่มากกว่า 1,000,000 ได้ (K)
2. อ่าน และเขียนตัวเลขไทย ตัวเลขฮินดูอารบิก และตัวหนังสือแทนจำนวนนับที่มากกว่า 1,000,000 ได้(P)
3. มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนคณิตศาสตร์และนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ (A)
4.  สาระสำคัญ
ค่าประจำหลักของหลักเลขที่อยู่ทางซ้ายมือ จะมีค่าเป็นสิบเท่าของค่าประจำหลักของหลักเลขที่อยู่ถัดไปทางขวามือและตัวเลขในหลักต่างๆมีค่าตามค่าประจำหลัก
5. สาระการเรียนรู้ 
                  5.1  ความรู้
ค่าประจำหลัก
                  5.2   สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 
การจำแนก  การให้เหตุผล  การสรุปความรู้  การปฏิบัติ
                  5.3  คุณลักษณะอันพึงประสงค์
                                มีวินัย  ใฝ่เรียนรู้  มุ่งมั่นในการทำงาน
6.  ชิ้นงานหรือภาระงาน 
แบบฝึกหัด
7.  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
     ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
นำหลักลูกคิดที่แสดงจำนวนต่างๆ มาให้นักเรียนร่วมกันศึกษา และช่วยกันออกมาเขียนชื่อหลัก และบอกค่าของจำนวนนั้น 
      ขั้นกิจกรรมการเรียนการสอน
1. แสดงจำนวนที่มีค่ามากกว่า 1,000,000 โดยใช้หลักลูกคิด แล้วให้นักเรียนร่วมกันอ่าน และออกมาเขียนตัวเลขไทย ตัวเลขฮินดูอารบิก และตัวหนังสือแทนจำนวนนั้น เช่น
ตัวเลขไทย             ,๓๓๖,๔๖๑,๔๓๒
ตัวเลขฮินดูอารบิก  2,336,461,432
ตัวหนังสือ              สองพันสามร้อยสามสิบหกล้านสี่แสนหกหมื่นหนึ่งพันสี่ร้อยสามสิบสอง
2. นักเรียนร่วมกันอภิปรายถึงการเรียกชื่อหลักที่อยู่ถัดจากหลักล้านไป เรียงลำดับชื่อหลักเหมือนชื่อหลักตั้งแต่หลักสิบ หลักร้อยไปถึงหลักล้าน โดยมีคำว่าต่อท้ายทุกหลัก เช่นสิบล้าน ร้อยล้าน พันล้าน
3. นำบัตรตัวเลขที่แสดงจำนวนมากกว่า 1,000,000 มาให้นักเรียนศึกษาร่วมกัน และเขียนลงในใบงานที่แจก ให้ โดยสุ่มชี้นักเรียนออกมาเขียนคนละ 1 ใบและชูให้เพื่อนดู แล้วเขียนเป็นคำอ่าน เขียนตัวเลขไทย และตัวเลขอารบิกแทนจำนวนนั้นให้เพื่อนดูอีกครั้ง
       ขั้นสรุป
 นักเรียนนำผลงานที่เขียนมาส่งครูทีละคนพร้อมทั้งทดสอบอ่านให้ครูฟัง    
8.  สื่อการเรียนรู้
 1.หลักลูกคิด         2.บัตรตัวเลข
9. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
9.1.  วิธีการวัดและประเมินผล
-  สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในการเข้าร่วมกิจกรรม
9.2   เครื่องมือวัดผลและประเมินผล
-  แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม
9.3.  เกณฑ์การประเมิน
                  -  การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม  ผ่านตั้งแต่ 2 รายการถือว่า ผ่าน     ผ่าน 1 รายการถือว่า  ไม่ผ่าน

ลงชื่อ       สุดารัตน์  หาญกล้า     ครูผู้สอน                           ลงชื่อ...............................................................ฝ่ายวิชาการ
                   20  พฤษภาคม  2554                                                         -------/----------------/----------
   
บันทึกผู้บริหาร
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
                                                                                         ลงชื่อ.......................................................ผู้อำนวยการโรงเรียน